โรงเรียนฆ่าความคิดสร้างสรรค์
อดีตเด็กเรียนซ้ำชั้น อดีตเด็กที่เรียนรู้ได้ช้า แต่เขาเคยกล่าวเอาไว้ว่า
"Imagination is more important than knowledge"
"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้"
"Imagination is more important than knowledge"
"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้"
เรื่องทั้งหมดที่กล่าวมาคือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญของโลก เขาคนนั้นคือ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์"
"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" เป็นวลีอันอมตะที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ทิ้งเอาไว้ให้แก่โลก ความรู้ทำให้เราฉลาดขึ้น แต่มันจะเป็นสิ่งที่อยู่คงเดิมอย่างนั้น หากเราไม่นำความรู้นั้นไปใส่จินตนาการเพิ่มเติม เปรียบเทียบง่ายๆ ความรู้ก็เหมือนกับปัจจุบัน ขณะที่จินตนาการเปรียบได้กับอนาคต แม้แต่ผู้ที่ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกว่าเป็นผู้ทรงความรู้อย่าง ไอน์สไตน์ ยังไม่อยากให้เราจบแค่ความรู้และให้ความสำคัญกับจินตนาการมากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นบนโลกของเรามานักต่อนักแล้ว
"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" เป็นวลีอันอมตะที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ทิ้งเอาไว้ให้แก่โลก ความรู้ทำให้เราฉลาดขึ้น แต่มันจะเป็นสิ่งที่อยู่คงเดิมอย่างนั้น หากเราไม่นำความรู้นั้นไปใส่จินตนาการเพิ่มเติม เปรียบเทียบง่ายๆ ความรู้ก็เหมือนกับปัจจุบัน ขณะที่จินตนาการเปรียบได้กับอนาคต แม้แต่ผู้ที่ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกว่าเป็นผู้ทรงความรู้อย่าง ไอน์สไตน์ ยังไม่อยากให้เราจบแค่ความรู้และให้ความสำคัญกับจินตนาการมากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นบนโลกของเรามานักต่อนักแล้ว
หนึ่งตัวอย่างที่ดี คือ ก่อนปี ค.ศ. 1903 ความรู้คือมนุษย์ไม่สามารถบินได้ และคงได้หัวเราะกันจนฟันโยกแน่ๆ ถ้าในปีนั้น อยู่ดีๆ มีใครมาบอกว่า "ในวันข้างหน้า มนุษย์จะบินขึ้นไปบนฟ้าได้" แต่พี่น้องตระกูลไรต์ ใช้จินตนาการมองเห็นสิ่งที่ต่างออกไป พวกเขาทำการบินขึ้นฟ้าครั้งแรกในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.1903 จนมาถึงวันนี้ทุกคนมีความรู้ใหม่ จากจินตนาการของพี่น้องตระกูลไรต์ว่า "มนุษย์สามารถบินขึ้นไปบนฟ้าได้ด้วยเครื่องบิน"
เราใช้ความรู้ที่มีสร้างจินตนาการ แล้วใช้จินตนาการสร้างความรู้ใหม่ เพื่อที่จะได้จินตนาการต่อยิ่งสองสิ่งนี้พัฒนาควบคู่กันไปยิ่งดีมากๆ
เราใช้ความรู้ที่มีสร้างจินตนาการ แล้วใช้จินตนาการสร้างความรู้ใหม่ เพื่อที่จะได้จินตนาการต่อยิ่งสองสิ่งนี้พัฒนาควบคู่กันไปยิ่งดีมากๆ
จากคำกล่าวข้างต้นของไอสไตน์ จะเป็นจริงหรือไม่ หรือเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหนกัน เพราะเห็นกันพูดอยู่ว่า "ความรู้สำคัญกว่าอื่นใด" คนเราสามารถใช้ความรู้ทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ คนที่มีความรู้ท่านเรียกว่า นักปราชญ์ แต่ทำไมไอสไตน์ถึงได้กล่าวในทางที่ตรงกันข้ามเช่นนั้น มีเหตุผลอื่นประการใดแอบแฝงหรือ หรือว่าเป็นการกล่าวขึ้นมาลอยๆ อย่างไม่มีเหตุผลเฉยๆ
บางคนอาจมีข้อโต้แย้งว่า ความรู้ที่ทำให้โลกเราเกิดความเปลี่ยนแปลงไปต่างๆนานา เพราะไม่ว่ายุคไหนๆ ก็เกิดความเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากการที่คนในสังคมมีความรู้ต่างหาก ไม่ใช่เป็นเพราะการที่คนมีจินตนาการ ที่กล่าวเช่นนั้นก็ถูกแต่ก็ถูกไม่หมด แม้ว่าความรู้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางต่างๆ ในสังคมแต่ละยุคสมัยจนถึงในยุคสมัยปัจจุบัน เราจะอาศัยแต่เพียงความรู้อย่างเดียวก็ไม่สามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ หากไม่อาศัยจินตนาการด้วยตามที่ได้กล่าวแล้วว่าจินตนาการและความรู้ต้องไปด้วยกันเสมอ ถึงแม้ว่าจินตนาการและความรู้มีความสำคัญพอๆกัน แต่โดยส่วนลึกแล้ว จินตนาการย่อมมีความสำคัญกว่า เพราะคนเราแม้ว่าตนเองจะมีความรู้ ต่อให้รู้มากขนาดไหนแต่ถ้าหากว่าไม่มีจินตนาการก็ไม่มีทางรู้เลยว่าจะเอาความรู้นั้นไปทำอะไร ไปใช้กับอะไร และเมื่อใช้ทำสิ่งนั้นแล้วผลที่ตามมาจะเป็นเช่นไร ก็ไม่สามารถที่จะใช้ความรู้นั้นๆ ให้เกิดผลได้เลย เข้ากับสำนวนไทยที่ว่า
บางคนอาจมีข้อโต้แย้งว่า ความรู้ที่ทำให้โลกเราเกิดความเปลี่ยนแปลงไปต่างๆนานา เพราะไม่ว่ายุคไหนๆ ก็เกิดความเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากการที่คนในสังคมมีความรู้ต่างหาก ไม่ใช่เป็นเพราะการที่คนมีจินตนาการ ที่กล่าวเช่นนั้นก็ถูกแต่ก็ถูกไม่หมด แม้ว่าความรู้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางต่างๆ ในสังคมแต่ละยุคสมัยจนถึงในยุคสมัยปัจจุบัน เราจะอาศัยแต่เพียงความรู้อย่างเดียวก็ไม่สามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ หากไม่อาศัยจินตนาการด้วยตามที่ได้กล่าวแล้วว่าจินตนาการและความรู้ต้องไปด้วยกันเสมอ ถึงแม้ว่าจินตนาการและความรู้มีความสำคัญพอๆกัน แต่โดยส่วนลึกแล้ว จินตนาการย่อมมีความสำคัญกว่า เพราะคนเราแม้ว่าตนเองจะมีความรู้ ต่อให้รู้มากขนาดไหนแต่ถ้าหากว่าไม่มีจินตนาการก็ไม่มีทางรู้เลยว่าจะเอาความรู้นั้นไปทำอะไร ไปใช้กับอะไร และเมื่อใช้ทำสิ่งนั้นแล้วผลที่ตามมาจะเป็นเช่นไร ก็ไม่สามารถที่จะใช้ความรู้นั้นๆ ให้เกิดผลได้เลย เข้ากับสำนวนไทยที่ว่า
ขอบคุณ http://guru.sanook.com/9437/
No comments :
Post a Comment